วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เมื่อน้ำท่วมรถ ควรจะทำอย่างไร?


สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยตอนนี้ เราคงต้องให้กำลังใจและช่วยเหลือกันและกันให้มากเท่าที่จะทำได้ สถานการณ์แบบนี้ไม่เกิดขึ้นมานานเป็นสิบๆ ปีแล้ว เชื่อว่าหลายคน อาจจะเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์นี้แล้ว บางคนอาจตุนอาหารแห้ง ยกข้าวของเครื่องใช้ให้สูงขึ้น บ้านที่อยู่ในเขตระวังภัยน้ำท่วม ถ้าบ้านมีหลายชั้น ก็แนะนำให้ขนของขึ้นชั้นบนนะคะ เพราะน้ำท่วมครั้งนี้ ไม่ธรรมดา!!!!  ส่วนใครที่มีรถยนต์ ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ หรือในจังหวัดที่มีห้างใหญ่ๆ ตอนนี้ก็มีบริษัทเอกชนหลายแห่ง ที่เปิดลานจอดรถให้เข้าไปจอดฟรีเพื่อหนีน้ำท่วมได้  อาทิ

เซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า, บางนา, พระราม 2, พระราม 3, แจ้งวัฒนะ, รัตนาธิเบศร์, รามอินทรา, เชียงใหม่ แอร์พอร์ต,เชียงราย, ขอนแก่น, อุดรธานี, ชลบุรี และเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช,  สนามบินดอนเมือง, ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์, ห้างสรรพสินค้าตั้ง ฮั่ว เส็ง , ห้างเดอะมาร์เก็ต บางโพ, ซีคอน สแควร์, เดอะมอลล์รามคำแหง, พาราไดซ์ พาร์ค ศรีนครินทร์, ลานจอดระยะยาวสนามบินสุวรรณภูมิ, ห้างเดอะสแควร์บางใหญ่, แฟชั่นไอร์แลนด์

ส่วนคนที่เตรียมตัวไม่ทัน และต้องจำใจปล่อยให้น้ำท่วมรถยนต์ไปแล้ว น้ำใจก็ไปเจอบทความที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมรถมาแชร์ให้อ่านกันค่ะ

• แรกทีเดียว อย่าพยายามรีบร้อนติดเครื่องยนต์รถที่เพิ่งเอาขึ้นจากน้ำหรือน้ำลดลงไปจากการท่วมมิดเครื่องยนต์เป็นอันขาด เพราะน้ำที่อัดอยู่ในเครื่องยนต์อาจจะทำให้ก้านสูบกับก้านกระทุ้งวาล์วในกรณีที่เป็นรถโบราณเช่นโฟล์กสวาเกน เต่าทองนั้น คดงอได้เลยทีเดียว

• อย่าพ่วงไฟเพื่อติดเครื่องยนต์รถที่ไหม่กว่ารุ่นปี ค.ศ. 1989 หรือ พ.ศ. 2532 ขึ้นมา ด้วยว่านั้นจะเปิดโอกาสให้แอลเทอร์เนอเตอร์ซึ่งมักจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า ไดชาร์จ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นานาประดามีในรถไหม้เสียหายได้

• ก่อนที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ หรือเอาแบทเตอรี่ไปอัดไฟให้เต็มอีกทีแล้วเอามาใช้ หรือพูดให้ชัดก็ได้ว่า ต่อขั้วแบตเตอรี่เข้ากับรถอีกครั้งหลังจากพ้นน้ำแล้วนี่ ปลดฟิวส์ของระบบถุงลมนิรภัยเพื่อไม่ให้ทำงานขึ้นมาได้ในระยะแรกนี้ก่อน ด้วยว่าถ้าวงจรไฟฟ้าในระบบถุงลมนิรภัยเกิดลงดินหรือชอร์ตกันได้แล้วล่ะก็ ถุงลมระเบิดตูมแบบว่าทำงานให้ใช้ได้ขึ้นมาเฉย ๆ เสียของไปเปล่าๆ หลายหมื่นทีเดียวนะครับ

• ปกติเมื่อรู้ว่ารถจะจมน้ำ เราก็ควรถอดสายไฟยกแบตเตอรี่ขึ้นที่สูงบนบ้านบนเรือนก่อน ถ้าทำไม่ทันแบตเตอรี่จมน้ำอยู่ก็จะหมดไฟไปก่อนที่จะเข้าทำให้เกิดกระแสลัดวงจรทที่เสียหายเพราะน้ำได้ แต่เมื่อน้ำแห้งแล้ววงจรอาจจะลงดินอยู่ มีกระแสเข้าไปเมื่อไรลัดวงจรเมื่อนั้น จึงควรรีบถอดสายแบตเตอรี่ออกทันทีที่รถพ้นน้ำ ถ้าไม่ได้เอาแบตเตอรี่ออกไปเสียก่อน โดยเฉพาะรถที่ตกน้ำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจนั่น

• ทีนี้ เมื่อปล่อยให้วงจรอุปกรณ์หลายอย่างแห้งแล้ว ก็ปลดฟิวส์ของวงจรที่มั่นใจได้ออกเสียก่อน เช่นวงจรถุงลมนิรภัยเป็นต้น

• ตรวจรถยนต์ที่เพิ่งพ้นน้ำของคุณให้ถี่ถ้วน ถ้าพบน้ำในที่เขี่ยบุหรี่ ก็เชื่อเอาไว้ก่อนว่า น้ำคงเข้าไปถึงระบบไฟฟ้าบนหน้าปัด เช่น มาตรมัดต่าง ๆ และสวิตช์ได้ และโดยที่วงจรเหล่านี้มักจะทำเป็นแผงจึงสามารถทำความสะอาดและแห้งเอามาใช้ได้ใหม่อีก แต่ตามที่ปรากฏกันมาก็คือคุณมักจะพบปัญหาของวงจรในการใช้งานต่อไปภายหน้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จมน้ำหรือเปียกน้ำนี้ อายุการใช้งานหลังจากนั้นจะค่อนไปทางข้างสั้น

• อย่าไปหวังอะไรให้มากนักเลย นอกเสียจากจะเปลี่ยนกันใหม่หมด แพงอีกใช่ไหมล่ะ

• เกียร์อัตโนมัติกับทอร์กคอนเวอร์เตอร์ต้องได้รับการล้างเอาน้ำมั่นและน้ำออกให้หมด เช่นเดียวกับเฟืองท้าย หรือส่วนมากในตอนนี้จะไปอยู่ข้างหน้าแล้ว กับพวกทรานสเฟอร์ของระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ด้วยว่าทั้งสองอย่างนี้มีรูระบายอากาศน้ำจึงเข้าไปทางนั้นได้ ก็ต้องทำอย่างเดียวกับเกียร์อัตโนมัติ

• เพลาขับที่ยางหุ้มเพลาขาด น้ำจะเข้าไปนำเอาจารบีออกไป ต้องอัดจารบีใหม่และเปลี่ยนยางหุ้มเพลาด้วย

• อีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ เมื่อตรวจเกี่ยวกับระบบส่งกำลังนี่คือ ลูกปืนล้อทั้งหน้าและหลังที่มีอยู่ในรถทั่วไป ต้องนำออกมาล้างอัดจารบีใหม่ ใส่กลับคืนที่ด้วยการปรับใหม่ให้แน่นตามลำดับไม่แน่นเกินไปจนล้อหมุนฝืด

• ล้างและเปลี่ยนน้ำระบายความร้อน เอาโคลนเลนที่ติดอยู่ตามรังผึ้งหม้อน้ำออกให้หมด ใส่น้ำยาลดความร้อน หล่อลื่น และรักษาโลหะลงผสมในน้ำระบายความร้อนใหม่อีกครั้งให้ได้ตามลำดับที่กำหนด

•การกำหนดอัตราส่วนผสมน้ำยากับน้ำในระบบระบายความร้อนนี้ที่กระป๋องหรือขวดน้ำยาจะมีบอกชัดเจน ถ้าเป็นฟอร์ดก็จะมีป้ายบอกไว้ที่ระบบหรือหม้อน้ำสำรอง โดยให้ใช้น้ำยาของฟอร์ด 50 % กับน้ำสะอาด 50 % เป็นต้น

• การใช้น้ำยาสีเขียว ราคาประหยัด ใส่เพียงกระป๋องเดียวหกเจ็หดสิบบาทนั่น ช่วยอะไรทางด้านการลดความร้อนและการสึกกร่อนของอะลูมิเนียมผสมในเครื่องยนต์ไม่ได้หรอก เรื่องแบบนี้ไม่ควรประหยัดเพราะจะเป็นการเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย? เมื่อถึงเวลาต้องซ่อมเครื่องยนต์ด้วยค่าใช้จ่ายหลายๆ หมื่นบาท

• อย่างน้อยก็ต้องล้างทำความสะอาดภายนอกของระบบห้ามล้อเปลี่ยนน้ำมันเบรก และหากแช่น้ำอยู่นานก็อาจจะต้องถึงขนาดซ่อมใหญ่เบรกทั้งระบบกันเลยก็ว่าได้ ตรงนี้ไม่ต้องถึงรถจมน้ำทั้งคันหรอก แค่แช่อยู่ทั้งวันลึกท่วมล้อเท่านั้นก็ได้เรื่องแล้ว

• รถกระบะหนึ่งตันที่ชอบลุยน้ำลึก เพราะเห็นว่าเครื่องยนต์ดีเซล ไม่มีระบบไฟฟ้าจุดระเบิด ไม่ต้องกลัวน้ำเข้าระบบไฟฟ้าแล้วเครื่องดับนั้น ถ้าน้ำเข้าเครื่องก็เสร็จเหมือนกัน หนักกว่ารถเบนซินด้วยซ้ำไป และเมื่อลุยน้ำลึกมากบ่อยเข้า น้ำก็เข้าไปในระบบห้ามล้อจนเกิดสนิม และน้ำมันเบรกเน่าเสียไปจนห้ามล้อไม่อยู่ได้นะ อย่าทำเป็นล่นไป

• อันตรายไม่ได้น้อยก่าเขาอื่นหรอก ถึงจะขับพ้นตรงที่น้ำท่วมได้ด้วยความเร็วจนน้ำกระจายเป็นปีกไปสาดรถอื่นเขาได้สนุกดีนั่นน่ะ เผลอๆ เป็นไข้สารตะกั่วเอาแถวนั้นเลยก็ยังเคยมี

• ของที่จมน้ำแล้วอาจจะต้องถึงกับเปลี่ยนเลยทีเดียวก็คือสตาร์ตเตอร์ เพราะน้ำเข้าไปนี่ฝรั่งบอกว่าซ่อมยากเสียเวลา แต่บ้านเราคงเอาไปให้ช่างไฟฟ้าตามร้านทั่วไปล้างทำความสะอาด ตรวจเช็กและปรับสภาพใช้ใหม่ได้ ไม่ต้องกับถึงกับต้องเปลี่ยนใหม่ แต่ต้องเอาออกมาทำแน่นอนถ้าจมน้ำ

• มาถึงตรงนี้ ที่หนักอีกอย่างคงจะเป็นพวกมอเตอร์ไฟฟ้าของกระจกไฟฟ้า ที่นั่งปรับไฟฟ้า และเสาอากาศไฟฟ้า ตรงนี้อาจถึงกับต้องเปลี่ยนเพราะซ่อมยากไปก็ได้ครับ หลายสตางค์อยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอย่าเที่ยวได้ขับรถลงไปแช่น้ำเล่น ไม่สนุกเลยเมื่อขึ้นมาได้

• หมดพวกราคาแพงและเป้นปัญหาได้มาก ก็ถึงส่วนที่มีปัญหาได้ในระดับรองลงมา จะเปลี่ยนหรือซ่อมก็ต้องตรวจสภาพกันดูทุกส่วน อย่าวางใจละเว้นละเป็นดี

• เริ่มที่แผ่นคลัตช์ จานคลัตช์ ลูกปืนคลัตช์ บางทีพอน้ำแห้งอาจจะทำท่าว่าใช้งานได้เหมือนเดิม ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เท่าไรนัก ใช้ไปไม่เท่าไรมักจะมีเสียง และเริ่มแสดงอาการของปัญหาเกียร์เข้ายากขึ้นมาให้พบได้เสมอ

• แร็กพวงมาลัย โดยเฉพาะพวกของพาวเวอร์ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ต้องตรวจเช็ก แม้จะเป็นความเป็นไปได้ที่จะเสียหายเป็นรองของที่บอกมาแล้วในตอนต้น ก็มีโอกาสเสียหายได้ รวมทั้งช็กอัพตัวยาวตัวสั้นที่ใช้มานานก่อนหน้ารถจมน้ำ ชีลกันน้ำหลวมแล้ว น้ำเข้าได้นะครับ ควรเปลี่ยนถ้าพบความผิดปกติหรือไม่น่าไว้วางใจ

• รีเลย์ เซ็นเซอร์ต่าง ๆ สวิตช์ไฟ และกล่องฟิวส์ก็ต้องได้รับการตรวจเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรเสียหาย ยังทำงานได้ดี โดยเฉพาะกล่องฟิวส์ต้องลงดินได้ดีเช่นเดิมถ้าเกิดมีการจมน้ำอยู่ระยะหนึ่ง เอาแค่วันเดียวหรือหลายชั่วโมงก็ไม่ดีแล้ว

• จานจ่ายนี่ก็ตัวดี ถ้าเป็นแบบใช้ทองขาวยังไม่เท่าไร แต่เบรกทรานซิสเตอร์ขึ้นมานี่ บางทีถึงต้องเปลี่ยนกันเลยทีเดียว เพราะต่อไปมักทำให้เครื่องยนต์สั่นโดยไม่ทันนึกว่ามาจากตัวนี้ได้

• แผงวงจรที่ผมว่าไว้ตอนแรกนั้น พอจะล้างได้ด้วยน้ำซึ่งทำการ DEIONIZED จากนั้นก็เอาไปอบที่ความร้อน 120 องศาฟาเรนไฮต์สัก 30 นาที แล้วพ่นด้วยสเปรย์แล็กเกอร์เคลียร์ก่อนจะนำมาใช้ใหม่ ซึ่งก็ยังไม่แน่นักว่าจะทนทานต่อไปได้สักเพียงไร โชคดีก็รอดตัว

• คลัตช์ของแอร์คอมเพรสเซอร์ควรได้รับการตรวจเช็กว่าใช้การได้หรือไม่

• ดวงไฟฟ้าหน้ารถก็อย่ามองข้าม น้ำอาจจะเข้าไปค้างอยู่ เอาออกเสียให้หมดก่อนที่จานจ่ายจะกลับบ้านเก่าเพราะน้ำทำเหตุ

ที่มา: www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=103017.165

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น